การประหยัดพลังงาน
ก่อนอื่นทำความเข้าใจที่ถูกต้องในการประหยัดพลังงานของบ้านหรืออาคาร โดยทั่วไปความเข้าใจในการประหยัดพลังงานของ “บ้าน” คือ การประหยัดพลังงานของ “อิฐ” และขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ ค่า K (Thermal conductivity) ค่า R (Thermal resistance) และ ค่า U (Heat coefficient) เท่านั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด (X) เพราะเงื่อนไขนี้เป็นเงื่อนไขเฉพาะตัว “อิฐ” หรือ “ผนัง” ที่นำมาใช้เท่านั้น
ซึ่งในด้านการปกป้องอุณหภูมิในบ้านหรืออาคาร ต้องมีการพิจารณาคุณสมบัติด้าน “หน้าที่” (Function) ร่วมด้วย การประหยัดพลังงานของ “บ้าน” ต้องพิจารณาในปัจจัยดังนี้
การประเมินจาก “คุณสมบัติ” เป็นการประเมินค่าความเป็น “ฉนวน” ซึ่งเป็นค่าที่แสดงให้เห็นว่า “วัสดุ” ที่ใช้ทำอิฐ หรือผนังสามารถชะลอหรือป้องกันความร้อนผ่านตัววัสดุนั้นๆ ได้ง่ายหรือยาก ซึ่งในคุณสมบัตินี้สามารถบอกได้ทันทีว่า วัสดุชนิดใดป้องกันความร้อนที่จะผ่านเข้ามาในบ้านได้เท่านั้น แต่จะไม่ได้บอกการประหยัดพลังงานของบ้านหรืออาคาร
การประเมินจาก “หน้าที่” เป็นการประเมิน “ร่วม” กับ “คุณสมบัติ” ว่าเมื่อมาเป็นผนังแล้วจะส่งผลดีหรือเสียต่อการปกป้องความร้อนในบ้านหรืออาคารอย่างไร ซึ่งมีปัจจัยที่มีผลกระทบดังนี้
2.1 ค่า “การสะสมความร้อน” ในตัวอิฐหรือผนัง ค่านี้จะขึ้นอยู่กับสมการ Heat flux Q = KA (T1-T2)/L โดย K (Thermal conductivity), A (Area), T1-T2 (Diff. temp) และ L (Thickness) โดยจะเห้นว่า ค่าการสะสม ความร้อน จะขึ้นอยู่กับ ค่า (T1-T2) มี 2 กรณี
กรณีที่ 1: เมื่อไม่มีเครื่องปรับอากาศ ในสถานการณ์ที่อุณหภูมิ “ลดลง” จากกรณี “ช่วงเย็น”
จะมีค่า ความแตกต่างของอุณหภูมิ ทั้ง 2 ด้าน “น้อย” ทำให้อากาศร้อนที่สะสมอยู่ภายในอิฐหรือผนัง มีระยะเวลานาน ยิ่งอิฐที่มีค่าความเป็นฉนวน “สูง” ก็จะอม หรือสะสมความร้อนไว้นานกว่าที่จะคลายออก จึงทำให้บ้านเย็นช้า หรือในกรณี ถ้าจะเปิดเครื่องปรับอากาศ ก็จะใช้พลังงานมากกว่าปกติ ดูตามกรณีที่ 2
กรณีที่ 2: เมื่อมีหรือใช้ เครื่องปรับอากาศ ในสถานการณ์ที่มีอากาศ “ร้อน” หรือ “ช่วงบ่าย”
จะมีความแตกต่างของอุณหภูมิ “มาก” (กรณีอุณหภูมิห้องประมาณ 45°C อุณหภูมิที่ผิวผนังด้านนอก จะประมาณ 50-55°C) เมื่อเทียบกับอุณหภูมิขณะใช้เครื่องปรับอากาศที่ 25°C จะเห็นว่า มีค่า (T1-T2) ที่มีค่าสูง หรือประมาณ 25-30°C ซึ่งจะทำให้ Heat flux จากภายนอกบ้าน สามารถผ่านผนังบ้านได้ง่ายขึ้น นั่นหมายถึง การที่เครื่องปรับอากาศ ต้องใช้พลังงานเพิ่มจากสภาวะปกติเช่นเดียวกัน
2.2 การระบายความร้อน ขณะที่ไม่อยู่บ้าน กรณีนี้เกิดขึ้นจากช่วงที่เราไม่อยู่บ้านแล้ว “ปิด” ประตูหน้าต่างจนหมด จะเห็นว่าภายในบ้านจะสะสมความร้อนจากการปิดบ้านไว้ตลอดเวลา กรณีนี้ถ้าต้องการเปิดเครื่องปรับอากาศก็จะทำให้มีการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศมากกว่าปกติ เช่นเดียวกัน
2.3 เมื่อความร้อนสูงขึ้นและความร้อนสะสมมากขึ้น ค่าความเป็นฉนวนที่เป็นค่าคุณสมบัติเฉพาะวัสดุนั้นๆ จะยิ่ง “แย่ลง” จากหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ว่าค่าคุณสมบัติเฉพาะที่เป็นค่า K, R และ U มีค่าที่ “ไม่คงที่” และจะแย่ลงเรื่อยๆ เมื่้ออุณหภูมิสูงขึ้นและสะสมความร้อนมากขึ้น
ทำไมอิฐประหยัดพลังงาน Air Flow Block และการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานด้วยวิธีธรรมชาติ (Natural Passive House) จึงสามารถรวมประสิทธิภาพทั้งในส่วน “คุณสมบัติ” (Characteristics) และ “หน้าที่” (Function) ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดี กว่าอิฐและผนังชนิดอื่นๆ ในหลายมิติด้วยเหตุผลดังนี้
1. ใช้หลักการพาความร้อนออก (Convection) จึงสามารถทำให้ค่า คุณสมบัติเฉพาะนั้นมีค่าใกล้เคียงค่าเดิมมากที่สุด เพราะมีการระบายอากาศร้อนออกตลอดเวลาที่อุณหภูมิสูงกว่า 20°C และจากหลักการนี้ส่งผลต่อการประหยัดพลังงาน ดังนี้
2. หลักการ convection จะดีขึ้นแบบสวนทางกับอิฐชนิดอื่นๆ ที่ใช้ค่าคุณสมบัติเฉพาะด้านความเป็น “ฉนวน” เพราะยิ่งความร้อนสูงขึ้น จะสะสมความร้อนมากขึ้น อิฐชนิดที่ใช้ค่าความเป็นฉนวนจะมีประสิทธิภาพลดลงเรื่อยๆ แต่กับอิฐ AFB ยิ่งร้อน ยิ่งมีความดันมากขึ้น จากเหตุของความร้อน เมื่อมีความดันมากขึ้น ก็จะระบายอากาศร้อนได้มากขึ้น
3. การที่อิฐ AFB ไม่ได้ทำด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน จึงทำให้มีการระบายความร้อนได้เร็วและดีกว่าอิฐที่ใช้วัสดุที่เป็นฉนวน จะเป็นผลดีในช่วงเย็นที่อุณหภูมิลดลง ผนังที่ทำจากอิฐ AFB จะคลายความร้อนออกจากผนังได้เร็วกว่าอิฐที่ใช้วัสดุที่เป็นฉนวน (อ้างอิงการทดสอบ เร็วกว่าอิฐมวลเบาประมาณ 4 ชั่วโมง)
ทั้งหมดข้างต้นเป็นการสรุปภาพรวมในมิติของการประหยัดพลังงานเท่านั้น ยังมีข้อดีในมิติอื่นๆ อีกมากมาย เช่น การป้องกันเสียง การดูดซึมน้ำต่ำเพียง 10 % ความแข็งแรง การเจาะยึด การลดต้นทุนและอื่นๆ อีกมากมาย
การประเมินการประหยัดพลังงานจากการใช้ อิฐประหยัดพลังงาน Air Flow Block และ บ้านประหยัดพลังงานด้วยวิธีธรรมชาติ (Natural Passive House) เป็นการประเมินบนข้อมูลและอ้างอิงสมมุติฐานดังนี้
เพื่อลดความซับซ้อน จึงประเมินการลดการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย 25 % ของค่าไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศทั่วไป ดังนั้นกรณีนี้จะประหยัดค่าไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศ ประมาณ 900 บาท ต่อ เดือน
รวมทั้งหมด: 23,000 บาท ต่อหลัง
จะเห็นว่าระบบนี้ไม่มี “การเพิ่มการลงทุน หรือ ค่าใช้จ่าย” ในการสร้างบ้านหรืออาคาร จากการใช้อิฐประหยัดพลังงาน Air Flow Block แต่เป็นการลดค่าใช้จ่ายลงประมาณ 30,000 บาท ต่อหลัง รวมถึง การลงทุนในการทำระบบ Natural Passive House มีการลงทุน เพียง 23,000 บาท ต่อหลัง ซึ่งยังน้อยกว่าค่าใช้จ่ายที่ลดลงจากการใช้อิฐประหยัดพลังงาน Air Flow Block
การประเมินครั้งนี้จึงไม่สามารถประเมินดัชนีการลงทุนในค่าต่างๆ ได้ เช่น ค่า IRR (Internal rate of return), NPV (Net present value) และ ROI (Return of Investment)
สรุป การประเมินครั้งนี้เป็นการประเมินการใช้นวัตกรรมที่ไม่มีการลงทุนเพิ่มเติมแต่อย่างใด มีแต่ประโยชน์จากผลของการประหยัดพลังงานเพียงอย่างเดียว
เนื่องด้วยบ้านประหยัดพลังงาน NPH เปรียบเป็นนวัตกรรมที่ไม่มีการลงทุนเพิ่มใด ๆ เลย อาจมีต้นทุนที่ลดลงด้วย จึงทำให้ผู้สนใจที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางที่ต้องการสร้างบ้านสูงไม่เกิน 3 ชั้น สามารถเข้าถึงนวัตกรรมบ้านเย็น ประหยัดพลังงานได้ง่ายขึ้น รวมถึง ภาคการผลิตอิฐประหยัดพลังงาน Air Flow Block ก็เป็นการลงทุนขนาดเล็ก (SME) ซึ่งช่วยให้มีการกระจายการลงทุนได้ง่ายขึ้น และสามารถต่อยอดการประยุกต์ใช้งานกับอาคารประเภทต่างๆ ได้ดังนี้: