บทคัดย่อ

รู้จักบ้านประหยัดพลังงานด้วยวิธีธรรมชาติ NPH

บ้านประหยัดพลังงานด้วยวิธีธรรมชาติ (Natural Passive House-NPH) เป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบ ระบบโดยใช้พลังงานจากธรรมชาติ ต่อยอดมาจาก 2 นวัตกรรม ได้แก่ นวัตกรรมที่ 1 อิฐประหยัดพลัง งานแอร์โฟลบล็อค (Air Flow Block -AFB) สิทธิบัตรการออกแบบหมายเลข 99933 และ นวัตกรรมที่ 2 ระบบความเย็นใต้ดิน (Underground Cooling System) ที่เป็นการนําความเย็น จากใต้ดิน เข้ามาด้านในของผนังอิฐ AFB

  • ด้วยวิธีนี้ เมื่อผนังได้รับความร้อน อากาศในผนังขยายตัว เกิดความดัน และดันอากาศที่ร้อน หรืออากาศที่มีความหนาแน่นน้อย หรือมีนํ้าหนักเบา ลอยขึ้นด้านบน ซึ่งเป็นปรากฎการณ์เฉพาะ ของผนังอิฐ AFB และปรากฏการณ์ตามหลักวิทยาศาสตร์นี้เช่นกัน จะสร้างแรงดูดจากด้านล่าง ของผนัง ดูดอากาศเย็นจากระบบท่อเย็นใต้ดินขึ้นมาที่ผนังอิฐ AFB ได้
  • บ้านระบบ NPH เป็นการจัดการพลังงานธรรมชาติ ผ่านระบบผนังระบายความร้อน มี 4 องค์ ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ระบบความเย็นใต้ดิน หรือ Underground Cooling System 2) การถ่ายเทความร้อนที่ผนัง หรือ Wall convection ด้วยผนังอิฐ AFB 3) การถ่ายเทความร้อนที่พื้น หรือ Floor convection หรือ ช่องแมวลอด และ 4) การถ่ายเทความร้อนที่ฝ้าเพดาน หรือ Ceiling convection
  • ทุกระบบที่ได้ออกแบบไว้ตามข้างต้น จะเป็นระบบที่ใช้พลังงานที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือ Natural draft เท่านั้น จะไม่มีการสร้าง หรือใส่ระบบใดๆ ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ที่ต้องมีการดูแล ซ่อมบํารุงและค่าใช้จ่ายของใช้สิ้นเปลือง
  • ผลการทดสอบวิจัยบ้านจริง พบว่าใกล้เคียงประมาณการจากผลการคํานวณ บ้านระบบ NPH ช่วยปกป้องอุณหภูมิในบ้าน ทําให้บ้านเย็น ลดอุณหภูมิได้ประมาณ 3-5°C การประหยัดพลังงาน เพิ่มขึ้นจากเดิม โดยรวมประมาณ 20-30% การทดสอบเปิดระบบ NPH ทําให้ช่วงอุณหภูมิกลางบ้านที่สูงกว่า 30° C มีระยะเวลาสั้นกว่า การปิดระบบ ประมาณ 2 เท่า ซึ่งหมายถึง ช่วงเวลาที่บ้านจะอยู่เย็นและสบายมีมากกว่า ประหยัดพลังงานมากกว่า
  • บ้าน NPH จดอนุสิทธิบัตร หมายเลขขึ้นทะเบียน 2403003429
  • การใช้อิฐ AFB ประหยัดพลังงาน 5-30 % เมื่อเทียบกับผนังชนิดอื่น และบ้านระบบ NPH จะสามารถต่อยอด การประหยัดพลังงานเพิ่มจากผนังอิฐ AFB ได้อีกประมาณ 10-20% (ประมาณการจากผลการทดสอบ)
  • กรณีมีการใช้งาน ทั้งอิฐประหยัดพลังงาน AFB + บ้านระบบ NPH อย่างแพร่หลาย ช่วยลดค่าใช้จ่ายการใช้พลังงานลงได้ ประมาณ 1,800 ล้านบาท ต่อ ปี